มาทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงานกัน เอกสารนี้เป็นเอกสารสำคัญที่จำเป็นต่อการยื่นสมัครงานครั้งต่อ ๆ ไปของพวกเรา เพราะ HR ของแต่บริษัทเขาก็อยากรู้ว่าเราทำอะไรมาก่อนหน้าใช่ไหม? หนังสือรับรองการทำงานจึงเป็นเอกสารที่สำคัญมาก นอกจากการนำไปสมัครงาน เอกสารนี้ยังสามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง มาทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงานกันดีกว่า 

 

 front-view-woman-from-human-resources-holding-contract.jpg

 

 

หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร? 

 

หนังสือรับรองการทำงาน (Employment Certificate หรือ Work Certificate) เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือบริษัท เพื่อยืนยันว่าพนักงานเคยทำงานในตำแหน่งและช่วงเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนั้น หนังสือรับรองการทำงานมักจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่อไปนี้ 

 

  • ชื่อของพนักงาน: ระบุชื่อ-นามสกุลของพนักงานที่เคยทำงาน 
  • ตำแหน่งงาน: ระบุตำแหน่งงานที่พนักงานเคยดำรงตำแหน่ง 
  • ระยะเวลาการทำงาน: ระบุวันที่เริ่มงานและวันที่สิ้นสุดการทำงาน 
  • หน้าที่และความรับผิดชอบ: อธิบายบทบาทและหน้าที่ที่พนักงานได้ปฏิบัติในช่วงที่ทำงาน 
  • ข้อมูลนายจ้าง: ชื่อบริษัทหรือองค์กร พร้อมทั้งข้อมูลติดต่อ 
  • ลงชื่อผู้มีอำนาจ: ลงลายมือชื่อของผู้ที่มีอำนาจในบริษัท เช่น ผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนก 

หนังสือรับรองงานจะไม่มีข้อความระบุให้ร้ายกับลูกจ้างไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม (ถึงมีการทุจริตในการทำงาน นายจ้างก็ไม่สามารถระบุเหตุผลที่เลิกจ้างงานในใบรับรองการทำงานได้) 

 

หนังสือรับรองการทำงานมีประโยชน์อะไรบ้าง? 

 

1. ยืนยันประสบการณ์การทำงาน: ใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าเคยทำงานในตำแหน่งและระยะเวลาที่ระบุ ช่วยให้ผู้ว่าจ้างใหม่มั่นใจในประสบการณ์และความสามารถของผู้สมัครงา 

 

2. การสมัครงานใหม่: ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการสมัครงาน ทำให้ผู้ว่าจ้างใหม่สามารถประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครได้ง่ายขึ้น 

 

3. การขอวีซ่า: ใช้ประกอบการขอวีซ่าทำงานหรือวีซ่าประเภทอื่น ๆ ที่ต้องการหลักฐานยืนยันการทำงานในอดีต

 

4. การขอสินเชื่อหรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย: ธนาคารหรือสถาบันการเงินมักต้องการหลักฐานยืนยันว่าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ประจำและมีความมั่นคงในการทำงาน

 

5. การศึกษาต่อ: สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น บางครั้งสถาบันการศึกษาต้องการหลักฐานยืนยันประสบการณ์การทำงานเพื่อพิจารณารับเข้าเรียน

 

6. การยืนยันความสามารถทางวิชาชีพ: ใช้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความสามารถทางวิชาชีพในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกร แพทย์ หรือทนายความ

 

หนังสือรับรองการทำงานสามารถขอย้อนหลังได้ตามกฎหมาย แต่หากต้องการขอควรรีบขอเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นเพราะหากข้อมูลของลูกจ้างคนนั้นไม่ได้อยู่ในระบบของบริษัทเก่าแล้ว บริษัทอาจจะออกหนังสือรับรองการทำงานให้ไม่ได้ หรืออาจจะขอได้แต่ยากมากขึ้นเพราะข้อมูลอาจหายไปแล้ว หรือหายากกว่าขอตั้งแต่พึ่งออกจากงานมา  แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บริษัทต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้ลูกจ้างในทุกกรณี หากไม่ออกให้ลูกจ้างสามารถไปร้องศาลแรงงานได้ 

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับใบรับรองการทำงาน 

มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญ แสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่ และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร หากนายจ้างฝ่าฝืนลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14 ที่ว่าไว้ว่า มาตรา 14 ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามสิทธิ และหน้าที่ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น 

(https://www.mol.go.th )

หนังสือรับรองการทำงานเป็นเอกสารที่สำคัญในการสมัครงานใหม่ เพราะช่วยยืนยันประสบการณ์และความสามารถของพนักงานต่อผู้ว่าจ้างใหม่ นอกจากนี้ยังใช้ในการดำเนินการด้านต่างเช่น การยื่นขอวีซ่า การสมัครเรียนต่อ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินในบางกรณี 

โพสต์โดย
โพสต์โดย
Account Executive
“หมวย” พนักงานขายที่มีทักษะในการดูแลความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับลูกค้า ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นงานด้านลูกค้าสัมพันธ์ งานด้านฝ่ายบุคคล ทำให้หมวยสามารถทำงานร่วมกับทีม และลูกค้าได้เป็นอย่างดี ส่วนในเวลาว่างนั้น หมวยจะชอบฟังเพลง และเล่มเกมเป็นที่สุด