การวางแผน การสรรหา และการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์
ความหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง เป็นกระบวนการพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งบุคลากรตามที่ต้องการอย่างเป็นระบบเพื่อให้องค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กำหนดไว้
ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
- ระดับบุคคล เป็นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยในการปรับปรุงทักษะ
- ระดับองค์กร เป็นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยในการยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร
- ระดับชาติ เป็นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยในการคัดเลือกและการพัฒนาบุคลากรอย่างมีระบบขององค์กร
วัตถุประสงค์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
- เพื่อใช้ประโยชน์จากบุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อรักษาบุคลากรที่มีอยู่ให้คงอยู่กับองค์กร ด้วยความมุ่งมั่น อุตสาหะ เป็นประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
- เพื่อพัฒนาบุคคลที่มีอยู่ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ขององค์กรที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันและอนาคตได้
- เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่ต้องการในจำนวนที่เหมาะสม
- เพื่อเตือนล่วงหน้าถึงภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่สามารถที่จะจัดการเรื่องของบุคลากร
- เพื่อสร้างความแน่นอนในการจ้างงาน
กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
- แผนการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร
- แผนการพัฒนาและการฝึกอบรมบุคลากร
- แผนการปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะของบุคลากร
- แผนการเกลี่ยบุคลากรมาใช้ในกรณีที่องค์กรจะต้องการลดขนาดบุคลากร
- แผนการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร
- แผนการทดแทนบุคลากรที่มีอยู่ในองค์กร
การคาดการณ์ทรัพยากรมนุษย์
- การรวมทรัพยากรมนุษย์และผลผลิตขององค์กร
- โครงสร้างองค์กรที่คาดหวังไว้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- เงื่อนไขสภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- แผนธุระกิจขององค์กรที่กำหนดไว้ในช่วงระยะเวลา 5 ปี
- แนวโน้มการจ้างงานของตลาดแรงงานในอดีตและปัจจุบัน
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายและโปรแกรมบุคลากรขององค์กร
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
- ช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้ดีขึ้น โดยอาศัยการประเมินผล การปฏิบัติงาน
- ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการประสานงานทางด้านกิจกรรมทรัพยากรมนุษย์และวัตถุประสงค์ขององค์กรในอนาคต
- ช่วยให้ประสบผลสำเร็จด้านการประหยัดในการจ้างบุคลากรใหม่
ช่วยกระจายข่าวสารการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อช่วยงานกิจกรรมทรัพยากรมนุษย์
ช่วยประสานงานโปรแกรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันอย่างเช่น การยืนยันแผนปฏิบัติการ
ความหมายของการสรรหาทรัพยากรมนุษย์
สรุปได้ว่า การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง เป็นกระบวนการแสวงหา จูงใจ การกลั่นกรอง และคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติคุณวุฒิทางการศึกษา พร้อมทั้งมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอันเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครเข้ามาสมัครงานกับองค์กรและยังช่วยให้องค์กรสามารถประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้
หลักการสรรหาทรัพยากรมนุษย์
- หลักคุณธรรม (Merit system)
- หลักความรู้ความสามารถ (Competency)
- หลักความเสมอภาค (Equality)
- หลักการให้โอกาส (Opportunity)
- หลักความมั่นคง (Security)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในการสรรหาบุคลากร
- นโยบายขององค์กรในการสรรหาบุคลากรจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ
- นโยบายการแต่งตั้งบุคลากรจากภายใน เป็นการเปิดโอกาสให้แก่บุคลากรขององค์กรที่ปฏิบัติงาน
- นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการกำหนดอัตราค่าตอบแทนค่าจ้างหรือเงินเดือนในตำแหน่งงานด้วยความเป็นธรรม
- นโยบายการจ้างงานตามสถานภาพองค์กร
สภาพการจ้างขององค์กร เป็นแรงจูงใจที่ผู้สมัครเข้าทำงาน จะนำมาเป็นปัจจัย ในการประกอบการพิจารณาตัดสินใจสมัครเข้าทำงานกับองค์กรนั้น ๆ มีรายละเอียดดังนี้
- สภาพการทำงาน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานที่ดี
- การประกันความมั่นคง เป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผลประโยชน์ตอบแทน เป็นการจัดผลตอบแทนนอกเหนือจากค่าจ้างหรือเงินเดือนอันได้แก่สวัสดิการอย่าง
- มีโอกาศก้าวหน้า เป็นการส่งเสริมบุคลากรที่มีประสิทฺภาพในการทำงาน
กระบวนการสรรหาทรัพยากรมนุษย์
- การจัดทำข้อมูลตำแหน่งงานที่ต้องการสรรหา
- การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์งานมาใช้ในการสรรหา เป็นการสรรหาบุคลากร
- การกำหนดวิธีการสรรหา เป็นขั้นตอนการกำหนดวิธีการสรรหาบุคลากร
- การดำเนินการสรรหา เป็นการนำข้อมูลตำแหน่งงานว่างประกาศให้บุคลากร ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร
- การประเมินผลการสรรหา เป็นกระบวนการสรรหาในขั้นตอนสุดท้ายของ การสรรหาบุคลากร
วิธีการสรรหาทรัพยากรมนุษย์
- การสรรหาบุคลากรโดยการประกาศรับสมัครอย่างเป็นทางการ
- การสรรหาบุคลากรโดยไม่ประกาศรับสมัครอย่างเป็นทางการ เป็นการสรรหาบุคลากรจากภายในองค์กรให้ดำรงตำแหน่งที่ว่าง
การสรรหาทรัพยากรมนุษย์
สถาบันการศึกษา (Educational institutions) เป็นสถาบันการศึกษาจะประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน และมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตบุคลากรทุกระดับอาชีพ อย่างเช่น ระดับไม่มีฝีมือ กึ่งฝีมือ ช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และวิชาชีพ การสรรหาบุคลากรจากสถาบันการศึกษา
แหล่งจัดหางาน (Employment sources) เป็นแหล่งจัดหางานจากสำนักงาน จัดหางานให้แก่บุคลากรที่ยังไม่มีงานทำ การว่างงาน ต้องการเปลี่ยนงาน
การโฆษณาทางสื่อสารมวลชน
- ประกาศรับสมัครงาน (Job announcement)
- การเข้ามาสมัครงานด้วยตนเอง (Walk – ins )
- การเขียนใบสมัครงาน (Write – ins)
- จัดพิมพ์หนังสือการเลือกสรร (Recruitment literature)
- จัดสรรทุนการศึกษา (Educational fund allocation)
ความหมายของการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์
การคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง เป็นกระบวนการต่อเนื่องมาจากการสรรหาบุคลากรโดยการตัดสินใจเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุดเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ จากบรรดาผู้สมัครทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องมือที่คาดว่าจะพยากรณ์หรือคาดการณ์คุณสมบัติของบุคลากรได้ใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรมากที่สุด
ความสำคัญของการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์
การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสำคัญต่อองค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องมาจากการสรรหาบุคลากร เพื่อทำการปฏิบัติงานตามสายงานขององค์กร ดังนั้นการคัดเลือกบุคลากรขององค์กรจะประกอบด้วยนโยบายการคัดเลือกบุคลากรขององค์กร ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ใช้การพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ การคัดเลือกบุคลากรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน และคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
กระบวนการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะเริ่มจากการให้กรอกใบสมัคร ทำการสัมภาษณ์เบื้องต้น เพื่อทำความรู้จักกันหรือนัดหมายผู้สมัครให้เข้ามาสัมภาษณ์เบื้องต้น ทำการทดสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบประวัติ ก่อนทำการ สัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย เพื่อการตัดสินใจและประกาศผลสอบคัดเลือก ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน